the_logo

กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

ประวัติความเป็นมา

E การสนับสนุนงบประมาณของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

2550

มาตรา 30  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 คุ้มครองมิให้มีการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ . . .
a2

แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้บุคคลได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันแต่ก็ยังไม่มีกระบวนการตามกฎหมายในการปกป้องคุ้มครองสิทธิสตรีและบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสในการรับบริการต่างๆของรัฐหรือมาตรการที่ช่วยป้องกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศที่ชัดเจนส่งผลให้บุคคลที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร

Add Your Heading Text Here

ซึ่งต่อมารัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 4 และมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560)
b1

2558

เพื่อให้มีกฎหมายที่กำหนดมาตรการคุ้มครองและป้องกันไม่ให้มี การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศจึงประกาศใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558

b2

4 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2558
F มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2558

โดยจัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ”
ตามมาตรา 28 ให้อยู่ในสังกัดกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตาม พ.ร.บ. นี้
c1

2559

คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน ครั้งแรก (ครั้งที่ 1/2559) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559
c2
พิจารณาแผนการใช้จ่ายเงินของกองทุน
– การชดเชยและเยียวยาผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตาม พ.ร.บ.
– การสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการบริหารกองทุน
– ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ
– ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
e1

2560

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 คณะกรรมการบริหารกองทุน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์ฯ เพื่อจัดทำ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินสนับสนุนโครงการและกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ รวมถึงแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
e2

ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริม ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ”

 ฉบับแรก ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560

. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561

f1

2561

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 คณะกรรมการบริหารกองทุน มีคำสั่ง…
1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ (ชุดแรก)
– เพื่อพิจารณาโครงการที่ขอรับเงินสนับสนุน ตามประกาศฯ ก่อนเสนอความเห็น ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาอนุมัติ
f2
g1

2562 - ปัจจุบัน

2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ (ชุดแรก)
– เพื่อติดตามประเมินผล รายงานผลการติดตามโครงการที่ขอรับเงินสนับสนุน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนทราบ

การปรับปรุงประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการที่มีลักษณะ ตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เพื่อให้หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วม ในการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ให้ประสบผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ อันจะส่งผลให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคม
– เพื่อให้นิยาม “ผู้ขอรับเงินสนับสนุน” มีความชัดเจน มีความครอบคลุม ในการยื่นคำขอรับเงินสนับสนุน และสอดคล้องกับการบริหารงานของกรม จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงิน และทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563

– เพื่อให้การดำเนินงานมีความคล่องตัว อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และเพิ่มช่องทางการยื่นขอรับเงินสนับสนุน จึงได้ออกประกาศ คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สิน ของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565

ประกาศฯ (ฉบับ update ล่าสุด) แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565

 ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565
4 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565

The Promotion of Gender Equality Fund
Website : www.dwf.go.th or http://gepf.dwf.go.th/
E-mail : fundktp@gmail.com

กรอบวัตถุประสงค์

เงินกองทุน สามารถใช้จ่ายภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ ตามมาตรา 30
ดังต่อไปนี้

โครงสร้างกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ

คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ

รูปภาพ17

หน้าที่และอำนาจ
– พิจารณากลั่นกรองโครงการที่ขอรับเงินสนับสนุนตามประกาศฯ ก่อนเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุน
– ประสานผู้ขอรับเงินสนับสนุน ชี้แจงรายละเอียด/ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
– รวบรวม ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน
– อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย

หน้าที่และอำนาจ
– วางแผน และติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุน
– จัดทำเครื่องมือ วิเคราะห์และประมวลผลการติดตามโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุน
– รายงานผลการติดตามและประเมินผล ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนทราบอย่างต่อเนื่อง
– อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย

แผนผังขั้นตอนการสนับสนุนงบประมาณโครงการ

การขอรับเงินสนับสนุน

1. บทนิยาม
“คู่มือ” หมายความว่า คู่มือการขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
“กรม” หมายความว่า กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
“ศสค.” หมายความว่า ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว
“สคอ.” หมายความว่า สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ
“สนง.พมจ.” หมายความว่า สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
“พมจ.” หมายความว่า พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
“พระราชบัญญัติ” หมายความว่า พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
“ผู้มีอำนาจลงนาม” หมายความว่า ผู้ขอรับเงินสนับสนุน ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันในนามหน่วยงาน/องค์กร ตามหนังสือจดทะเบียน/ระเบียบ/ข้อบังคับของ หน่วยงาน/องค์กร หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ

“การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ”

การกระทำหรือไม่กระทำการใด อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็น เพศชาย หรือ เพศหญิง หรือ มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด

“เงินสนับสนุน”

เงินสนับสนุนของกองทุนส่งเสริม
ความเท่าเทียมระหว่างเพศเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินโครงการ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
ตามพระราชบัญญัติ ความเท่าเทียมระหว่างเพศ
พ.ศ. 2558

“ผู้ขอรับเงินสนับสนุน”

มูลนิธิ สมาคม ชมรม องค์กรสาธารณประโยชน์หรือองค์กรสวัสดิการชุมชน หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน
ซึ่งมีผลงานหรือมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการ หรือมีโครงการ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือเพื่อคุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ หรือเพื่อส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

R กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
R ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
R รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
R หน่วยงานของรัฐสภา ศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ
R ทุนหมุนเวียน (ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล)
R สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
R หน่วยงานอื่นของรัฐ

2. ประเภทโครงการที่สนับสนุน

3. ลักษณะโครงการที่สนับสนุน

ลักษณะโครงการที่ไม่สนับสนุน

T มีลักษณะซ้ำซ้อนในกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ รวมทั้งภารกิจที่ภาครัฐดำเนินการครอบคลุมแล้ว
T มีการศึกษาดูงานที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ
T แข่งขันกีฬา พิธีมอบรางวัลต่าง ๆ
T ขอรับการสนับสนุนเป็นค่าวัสดุและค่าใช้จ่ายสำนักงาน
T มีการจ้างงานในลักษณะการจ่ายเป็นเงินเดือน
T เป็นการประชุมภายในของสมาชิกหน่วยงาน/องค์กร
T มีลักษณะเป็นการฝึกอาชีพหรือสร้างงานสร้างรายได้
T ขอรับการสนับสนุนเพื่อนำไปจัดตั้งกลุ่มหรือหน่วยงาน/องค์กร

4. กรอบวงเงินค่าใช้จ่าย

5. เกณฑ์การพิจารณาค่าใช้จ่าย

R จำเป็น R ประหยัด R คุ้มค่า
R เหมาะสมกับสถานที่ กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม
R ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของกองทุน กำหนดภายใต้ระเบียบกระทรวงการคลัง

รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่สนับสนุน

T ค่าตกแต่งสถานที่
T ค่าจ้างเหมาจัดกิจกรรม ค่าจ้างการแสดงในพิธีเปิด – ปิดงาน
T ค่าของที่ระลึกวิทยากร หากมีการจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรแล้ว
T ค่าเงินรางวัล/ของรางวัล
T ค่าจัดทำเสื้อ
T ค่าวัสดุสำนักงาน
T ค่าเช่าที่ดิน อาคาร สิ่งก่อสร้าง ครุภัณฑ์ต่าง ๆ
T ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ระบุรายละเอียด

6. รอบการพิจารณาโครงการ

7. ระยะเวลาดำเนินโครงการ

ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณของกองทุน คือ ภายในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี

8. รายการแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

9. เอกสารสำคัญประกอบ/แนบท้ายแบบฟอร์ม

1) เอกสารประกอบการยื่นแบบ กทพ.1

หมายเหตุ : ผู้มีอำนาจลงนาม ต้องรับรองสำเนาถูกต้องสำเนาเอกสารทุกรายการ ยกเว้นรายการที่ 5 และ 6

2) เอกสารแนบท้ายแบบ กทพ.2

หมายเหตุ : กรณีผู้ขอรับเงินสนับสนุน ไม่ได้ขอรับเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย  ผู้ขอรับเงินสนับสนุน จะต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการในการโอนเงินต่างธนาคาร โดยไม่มีเงื่อนไข

3) เอกสารประกอบการรายงานผลการดำเนินงานตามแบบ กทพ.3

10. จำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนและรายการค่าใช้จ่ายต้องอยู่ภายในกรอบหลักเกณฑ์ที่กองทุนกำหนด

11. ระยะเวลาดำเนินโครงการสัมพันธ์และสอดคล้องกับรอบการพิจารณา

12. ช่องทางการยื่นเสนอโครงการ

1) ยื่นด้วยตนเอง หรือ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
2) ยื่นผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

(1) หน่วยงาน/องค์กรที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ส่งที่
เรียนอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
(กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ)
อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชั้น 13
เลขที่ 1034 ถนนกรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100

(2) หน่วยงาน/องค์กรที่ตั้งอยู่ส่วนภูมิภาค ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับผู้ขอรับเงินสนับสนุน ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวนั้น หรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุนมีภูมิลำเนาที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพนั้น เพื่อพิจารณาเบื้องต้นพร้อมเสนอความเห็นก่อนส่งให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณา

การยื่นคำขอตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ

นิยามที่เกี่ยวข้อง

“ระบบ” หมายถึง ระบบขอรับเงินสนับสนุนโครงการ ในเว็บไซต์ http://project.gepf.dwf.go.th

“ผู้ใช้งาน” หมายถึง หน่วยงาน/องค์กรที่สมัครใช้งานระบบขอรับเงินสนับสนุนโครงการ

1. แนวทางการขอรับเงินสนับสนุนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

1.1 การพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานระบบที่ขอรับเงินสนับสนุน

1) ตรวจสอบคุณสมบัติของหน่วยงาน/องค์กรของตนเอง ว่าเป็นไปตามที่กองทุนกำหนดในการขอรับเงินสนับสนุนหรือไม่ 2) ผู้ใช้งานต้องส่งเอกสารประกอบในขั้นตอนการสมัครใช้งานระบบพร้อมกับเอกสารอื่น ๆ เพื่อให้กองทุนตรวจสอบ ดังนี้

(1) หลักฐานการได้รับอนุญาตหรืออนุมัติให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้ใช้งานของหน่วยงาน/องค์กร

(2) สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ ของผู้อนุญาตหรือผู้อนุมัติ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

(3) สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ ของผู้ได้รับอนุญาตหรืออนุมัติให้เป็น ผู้ใช้งานของหน่วยงาน/องค์กรของหน่วยงาน/องค์กร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

หมายเหตุ :  1. กรณีผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ใช้งานเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของหน่วยงาน/องค์กร หรือเป็นผู้มีอำนาจลงนาม ให้แนบเพียงรายการที่ (2)

  2. การดำเนินการใด ๆ ในระบบของผู้ใช้งาน ถือเสมือนหน่วยงาน/องค์กรเป็นผู้ดำเนินการ

  3. กองทุนขอสงวนสิทธิชะลอการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ กรณีส่งเอกสารไม่ครบถ้วนหรือขอเอกสารเพิ่มเติมจนกว่าจะได้รับเอกสารครบถ้วน

2. วิธีการสมัครใช้งานของผู้ขอรับเงินสนับสนุน

2.1 การสมัครใช้งานแบบยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน

ให้ผู้ใช้งานไปที่เว็บไซต์ http://project.gepf.dwf.go.th คลิกที่เมนูชื่อ “สมัครสมาชิก”
คลิกที่เมนูชื่อ “ไม่พบชื่อองค์กร” และดำเนินการกรอกข้อมูลหน่วยงาน/องค์กรตามขั้นตอนพร้อมแนบเอกสารการจัดตั้งองค์กรและเอกสาร และหลักฐานการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานระบบที่ขอรับเงินสนับสนุน
ให้ผู้ใช้งานระบุที่ตั้งสำนักงาน และคลิกที่เมนูชื่อ “ส่ง” เพื่อส่งข้อมูลไปยังเจ้าหน้ากองทุน เพื่อให้เจ้าหน้าที่กองทุนอนุมัติใช้งาน
หลังจากที่คลิกที่เมนูชื่อ “ส่ง” ระบบจะแสดงหน้าจอดังรูปเพื่อรอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่กองทุน
หลังจากที่เจ้าหน้าที่กองทุนอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่ง email ไปให้ผู้ใช้งานตั้งรหัสผ่านดังรูป (หากไม่พบอีเมล์ ให้ตรวจสอบที่ “จดหมายขยะ”/ “จัดเป็นขยะ”)
ให้ผู้ใช้งานคลิกที่ลิงค์เพื่อตั้งรหัสผ่าน
ให้ผู้ใช้งานตั้งรหัสผ่านและคลิกยืนยันดังรูป

2.2 การยื่นขอโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

เมื่อผู้ใช้งานมีรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่านแล้ว ให้ Login เข้าใช้งานเพื่อกรอกแบบฟอร์มยื่นเสนอโครงการ โดยไปที่เมนู “เพิ่มโครงการ” และดำเนินการคีย์ข้อมูลในแบบฟอร์มตามขั้นตอน

หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าใช้จ่ายโครงการที่ขอรับการสนับสนุน

หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าใช้จ่ายโครงการที่ขอรับการสนับสนุน
จากกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

ค่าใช้จ่ายโครงการที่สนับสนุน

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ประหยัด คุ้มค่า เหมาะสมกับสถานที่ และเกิดความคุ้มครองในภารกิจภาครัฐ โดยพิจารณาตามแนวทางที่คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศกำหนด โดยแบ่งโครงการ เป็น 3 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ/อบรม/สัมมนา

ประเภทที่ 2 การรณรงค์การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

ประเภทที่ 3 การศึกษาวิจัย/การจัดทำแผน/การรวบรวมข้อมูล

“การฝึกอบรมประเภท ก” หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้รับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ข้าราชการตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ข้าราชการตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง หรือตำแหน่งเทียบเท่า

“การฝึกอบรมประเภท ข” หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้รับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงานและระดับอาวุโส ข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ ข้าราชการตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งเทียบเท่า

“การฝึกอบรมบุคคลภายนอก” หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งมิใช่บุคลากรของรัฐ

“ผู้เข้ารับการฝึกอบรม” หมายความรวมถึง บุคลากรของรัฐหรือบุคลากรซึ่งมิใช่บุคลากรของรัฐ ที่เข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรม

การพิจารณาเบื้องต้น

ผู้มีอำนาจในการพิจารณาเบื้องต้น ได้แก่ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว หรือ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ หรือ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด โดยมีการพิจารณาเบื้องต้น ดังนี้

1. แนวทางตรวจสอบและการพิจารณาเบื้องต้น

1) พิจารณาคุณสมบัติผู้ขอรับเงินสนับสนุน

(1) กรณีเป็นหน่วยงานของรัฐ

(ก) มีสำนักงาน (ภูมิลำเนา) ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานพิจารณาเบื้องต้น

(ข) หน่วยงานของรัฐ ไม่ต่ำกว่าระดับกองหรือเทียบเท่า

(ค) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น โดยตราเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง

(ง) มีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการ หรือมีโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือคุ้มครองป้องกัน ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย การเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

(จ) มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งหรือข้อบังคับ แต่งตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด หรือมอบอำนาจ ให้ปฏิบัติราชการแทน โดยมีขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ การควบคุมราชการ ของหน่วยงานนั้น ๆ หมายเหตุ: หน่วยงานอื่นของรัฐ ตรวจสอบตามมาตรา 3 และ มาตรา 3/1 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540

หมายเหตุ: หน่วยงานอื่นของรัฐ ตรวจสอบตามมาตรา 3 และ มาตรา 3/1 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540

(2) กรณีเป็นภาคเอกชน

(2.1) จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือได้รับการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์หรือองค์กรสวัสดิการชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

(ก) มีสำนักงาน (ภูมิลำเนา) ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

(ข) เป็นหน่วยงานที่ยังดำเนินกิจการอยู่เป็นปัจจุบัน และยังไม่ได้ยกเลิก หรือเพิกถอนการจดทะเบียน

(ค) มีระบบการบริหารและระบบการเงินการบัญชี

(ง) มีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการ หรือมีโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือคุ้มครองป้องกัน ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย การเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

(2.2) ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และไม่ได้รับการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์หรือองค์กรสวัสดิการชุมชน (กรณีชมรมเป็นผู้ขอรับเงินสนับสนุน)

(ก) มีสำนักงาน (ภูมิลำเนา) ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

(ข) มีส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐรับรองการจัดตั้ง และมีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการ หรือมีโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือคุ้มครองป้องกัน ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย การเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

(ค) มีระเบียบ/ข้อบังคับชมรม ระบบการบริหาร และระบบการเงินการบัญชี

(จ) มีรายงานการประชุม ที่แสดงมติให้ขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุน โดยมอบอำนาจให้ประธานชมรม หรือบุคคลใดเป็นผู้แทนในการลงนามผูกพันในนามชมรม และกรรมการทุกคนลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

2) พิจารณาลักษณะโครงการที่กองทุนสนับสนุน

ตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ดังนี้

(1) ลักษณะโครงการที่กองทุนสนับสนุนงบประมาณ

(2) ตรวจสอบแบบฟอร์มที่ใช้และเอกสารประกอบการยื่นแบบ กทพ.1
มีการกรอกข้อมูลตามแบบที่กำหนด (แบบ กทพ. 1) และมีเอกสารแนบครบถ้วน

เอกสารประกอบการยื่นแบบ กทพ.1 ให้แนบมาพร้อมโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุน มีดังนี้

หมายเหตุ : ผู้มีอำนาจลงนาม ต้องรับรองสำเนาถูกต้องสำเนาเอกสารทุกรายการ ยกเว้นรายการที่ 5 และ 6

2. แนวทางการตรวจสอบและพิจารณาคุณสมบัติผู้ขอรับเงินสนับสนุนสำหรับผู้พิจารณาเบื้องต้นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

2.1 การสมัครใช้งานแบบยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาเบื้องต้นไปที่เว็บไซต์ http://project.gepf.dwf.go.th คลิกที่เมนูชื่อ “สมัครสมาชิก” ลงทะเบียนใช้งาน
หลังจากที่ผู้ใช้งานคลิกที่ “สมัคร” เรียบร้อยแล้วระบบจะส่ง e-mail ไปให้ผู้ใช้งานเพื่อตั้งรหัสผ่าน (หากไม่พบอีเมล์ ให้ตรวจสอบที่ “จดหมายขยะ”/ “จัดเป็นขยะ”)
ให้ผู้ใช้งานคลิกที่ลิงค์เพื่อตั้งรหัสผ่าน

2.2 การพิจารณาเบื้องต้น
ระบบจะให้เจ้าหน้าที่เลือกหัวข้อในการประเมินโครงการประกอบด้วย
1) พิจารณาคุณสมบัติผู้ขอรับเงินสนับสนุน

2) พิจารณาลักษณะโครงการที่กองทุนสนับสนุน ตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
3) มีการกรอกข้อมูลตามตามแบบที่กำหนด (แบบ กทพ. 1) และมีเอกสารแนบครบถ้วน

การทำสัญญารับเงินสนับสนุน

ผู้มีอำนาจลงนาม คือ ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนหน่วยงาน โดยปกติคือผู้นำหรือ ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่มีชื่อระบุใน หนังสือจดทะเบียน/ระเบียบ/ข้อบังคับของของหน่วยงาน/องค์กร ฯลฯ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจ/คำสั่งมอบอำนาจ
ผู้ขอรับเงินสนับสนุนที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติสนับสนุนงบประมาณ จากคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จะได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณา เพื่อกำหนดวันทำสัญญารับเงินสนับสนุนและวันดำเนินโครงการ
ผู้ขอรับเงินสนับสนุนแจ้งกำหนดวันทำสัญญารับเงินสนับสนุน ณ ที่ทำการกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และวันดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยทำเป็นหนังสือถึงอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

กรณีหน่วยงาน/องค์กรมีความจำเป็น ไม่สามารถทำสัญญาฯ ณ ที่ทำการกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศได้ สามารถแจ้งความประสงค์ขอทำสัญญาฯ ณ ที่ทำการของหน่วยงาน ดังนี้

Ø ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว (ที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุนมีภูมิลำเนาอยู่) หรือ
Ø สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ (ที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุนมีภูมิลำเนาอยู่) หรือ
Ø สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (ที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุน
มีภูมิลำเนาอยู่)
ทั้งนี้ ควรมีหนังสือแจ้งกำหนดวันทำสัญญารับเงินสนับสนุน ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันเริ่มดำเนินกิจกรรมโครงการ

เช่น … มีกำหนดวันดำเนินกิจกรรมโครงการ ระหว่างวันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2566 ผู้ขอรับเงินควรมีหนังสือแจ้งกำหนดวันทำสัญญาและวันดำเนินกิจกรรมโครงการให้กองทุนทราบไม่เกินวันที่ 8 สิงหาคม 2565

*** ข้อควรระวัง การกำหนดวันดำเนินกิจกรรมโครงการต้องสอดคล้องกับที่ระบุไว้ในโครงการ เช่น ในโครงการระบุห้วงระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงสิงหาคม 2566 จะกำหนดวันดำเนินกิจกรรมโครงการนอกเหนือระยะเวลาดังกล่าวไม่ได้

ผู้ขอรับเงินสนับสนุนต้องแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้ มาพร้อมหนังสือแจ้งกำหนดวันทำสัญญารับเงินสนับสนุนด้วย
1. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์/กระแสรายวัน (2 ฉบับ)
2. แบบคำขอรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online
3. คำสั่ง/หนังสือมอบอำนาจ พร้อมหลักฐาน (กรณีมอบอำนาจ)

หมายเหตุ : ผู้มีอำนาจลงนาม ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง ในเอกสารฉบับสำเนาทุกฉบับ

กรณีที่มีการมอบอำนาจ

ให้แนบหนังสือมอบอำนาจหรือคำสั่ง มอบอำนาจ/ปฏิบัติราชการแทน มาด้วย ซึ่งต้องระบุรายละเอียดที่มอบอำนาจไว้ให้ชัดเจน
เช่น “…มอบอำนาจให้ดำเนินการยื่นเสนอโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และดำเนินการที่เกี่ยวข้องจนแล้วเสร็จ”

1. หนังสือมอบอำนาจ
R ต้องทำเป็นหนังสือระบุชื่อบุคคลที่มีความสามารถในการรับมอบอำนาจให้ชัดเจน
R ลงลายมือชื่อทั้งผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
R ลงลายมือชื่อพยานอย่างน้อยสองคน
R ปิดอากรแสตมป์

– มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว ปิดอากรแสตมป์ จำนวน 10 บาท หรือ
– มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว ปิดอากรแสตมป์ จำนวน 30 บาท

2. คำสั่งมอบอำนาจ (กรณีหน่วยงานภาครัฐ) ให้ดำเนินการตามระเบียบ/ข้อบังคับ ของต้นสังกัดหน่วยงาน

กรณีไม่ได้กำหนดทำสัญญารับเงินสนับสนุน ณ ที่ทำการกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว อาจพิจารณามีคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนไปยัง ผอ.ศสค./ผอ.สคอ. /พมจ. ให้มีอำนาจลงนามในสัญญารับเงินสนับสนุนในโครงการนั้น ๆ แทนอธิบดี

เมื่อลงนามในสัญญารับเงินสนับสนุนแล้ว กลุ่มบริหารกองทุน จะดำเนินการโอนเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online เข้าบัญชีธนาคารของผู้ขอรับเงินสนับสนุนในวันที่ ลงนามในสัญญาเสร็จสมบูรณ์ ถูกต้อง และครบถ้วน แต่ในกรณีผู้ขอรับเงินสนับสนุนไม่ได้ขอรับเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย ผู้ขอรับเงินสนับสนุนจะต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการโอนเงินต่างธนาคาร โดยไม่มีเงื่อนไข โดยที่ ผู้ขอรับเงินสนับสนุนจะได้รับเงินโอน ภายใน 2 วันทำการ

ผู้ขอรับเงินต้องส่งใบเสร็จรับเงินไปยังกองทุน ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับเงิน

ข้อควรทราบและยึดถือปฏิบัติ

ห้ามเปลี่ยนแปลงรายการและวงเงินที่ได้รับอนุมัติ

ห้ามเปลี่ยนแปลงวัน เวลา สถานที่ดำเนินโครงการ

– กรณีมีความจำเป็น ต้องเปลี่ยนแปลงวัน เวลา สถานที่ดำเนินโครงการ
หรือขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ ต้องทำหนังสือขออนุมัติ
จากประธานกรรมการบริหารกองทุน และต้องได้รับการอนุมัติก่อนทุกครั้ง

ต้องใช้จ่ายเงินสนับสนุน ตามรายการที่ได้รับการอนุมัติ
ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ/สังเกตการณ์การดำเนินโครงการ
ต้องรายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินสนับสนุนฯ ตามแบบ กทพ.3 และคืนเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

กรณีผู้ขอรับเงินสนับสนุนไม่ปฏิบัติตามสัญญารับเงินสนับสนุนข้อใด เมื่อผู้ให้เงินสนับสนุนมีหนังสือ แจ้งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาแล้ว แต่ผู้ขอรับเงินสนับสนุนไม่ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ให้เงินสนับสนุนมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที และผู้ขอรับเงินสนับสนุนต้องชดใช้เงินสนับสนุน คืนตามจำนวนเงินที่ได้รับทั้งหมด พร้อมด้วยดอกเบี้ย 15% ต่อปี นับแต่วันบอกเลิกสัญญา และ ผู้ให้เงินสนับสนุนมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้ขอรับเงินสนับสนุนอีกด้วย

การรายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินสนับสนุน

1. การรายงานผลการดำเนินโครงการ

(1) ผู้ขอรับเงินสนับสนุนต้องรายงานผลการดำเนินโครงการตาม แบบ กทพ. 3 และรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้กองทุนพร้อมส่งคืนเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

(2) สำหรับผู้ที่ยื่นเสนอโครงการผ่านระบบ ให้รายงานผลการดำเนินโครงการพร้อมประเมินผลผ่านระบบ โดยเข้าไปที่เมนู “แบบประเมินผลการจัดอบรม” และ “รายงานผลการดำเนินงาน”และส่งเอกสารหลักฐาน การใช้จ่ายเงินให้กองทุน พร้อมคืนเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) โดยส่งที่
เรียนผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชั้น 13
เลขที่ 1034 ถนนกรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
2. กรณีมีเงินเหลือจ่าย มีวิธีการส่งคืนเงิน ดังนี้

วิธีที่ 1 ส่งคืนเป็นเงินสด โดยกรอกรายละเอียดใน Bill Payment พร้อมเงินสด ไปยื่นชำระเงินที่เคาท์เตอร์ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา (มีค่าธรรมเนียมธนาคาร)

วิธีที่ 2 ส่งคืนเป็นเช็ค (มีค่าธรรมเนียมธนาคาร) สั่งจ่ายในนาม กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

Q&A

ขอรับเงินสนับสนุนได้ครั้งละหลายโครงการได้หรือไม่ ?
ผู้ขอรับเงินสามารถขอรับเงินสนับสนุนได้ครั้งละ 1 โครงการ ทั้งนี้ สามารถเสนอโครงการต่อเนื่องได้
ขอสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ได้หรือไม่
คณะกรรมการจะพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ ตามหลักเกณฑ์ภายใต้ระเบียบกระทรวงการคลัง โดยพิจารณาจากความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และคุ้มค่า
โครงการที่เป็นการจัดประชุม/อบรมสามารถหาวิทยากรได้จากที่ไหน
ผู้ขอรับเงินสามารถค้นหาได้จากทำเนียบวิทยากร ในเว็บไซต์ของกองทุน ที่เมนู “ประชาสัมพันธ์” หรือ สอบถามได้จากเจ้าหน้าที่กองทุน ที่หมายเลข 02-6576745-6 หรือ fundktp@gmail.com
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนแล้ว กองทุนจะจ่ายเงินช่องทางไหน
กองทุนจะโอนเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online เข้าบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวันของหน่วยงาน/องค์กร ที่ได้รับการสนับสนุน

โครงสร้างกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ได้ที่ QR-Code นี้

ภาคผนวก 1 พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558

พระราชบัญญัติ
ความเท่าเทียมระหว่างเพศ
พ.ศ. ๒๕๕๘
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
         โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่า ด้วยความเท่าเทียมระหว่างเพศ
         จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
         มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘”
         มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
         มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระทำหรือไม่กระทำการใด อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจาก ความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศ โดยกำเนิด
         “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
         “กรม” หมายความว่า กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
         “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
         “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
         “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
         มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกระเบียบหรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
         ระเบียบหรือประกาศตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
         มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศ” เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ สทพ.” ประกอบด้วย
          (๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
          (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ
          (๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสิบเอ็ดคน ได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง กลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และปลัดกระทรวงสาธารณสุข
          (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนเก้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนองค์กรสตรี และองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ในการทำงานที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างเพศไม่น้อยกว่าห้าปี จำนวนหกคน และผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านนิติศาสตร์ ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสังคมศาสตร์ หรือด้านจิตวิทยา จำนวนสามคน
          ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการในกรมจำนวนไม่เกิน สองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
          มาตรา ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
          (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
          (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
          (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
          (๔) ไม่เคยถูกไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะ กระทำผิดวินัย
          (๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
          (๖) ไม่เคยต้องคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ว่าได้กระทำการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          (๗) ไม่เคยต้องคำ พิพากษาหรือคำ สั่งของศาลถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
          (๘) ไม่เคยเป็นผู้กระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศ
          (๙) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
          มาตรา ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
          เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่ง ติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
          มาตรา ๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
          (๑) ตาย
          (๒) ลาออก
          (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
          (๔) พ้นจากการเป็นผู้แทนองค์กรสตรีหรือองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ตามมาตรา ๕ (๔)
          (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๖
          มาตรา ๙ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้แต่งตั้งผู้อื่น ดำรงตำแหน่งแทน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
          ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการ สทพ. ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
          มาตรา ๑๐ คณะกรรมการ สทพ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้มีการส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
          (๒) เสนอแนะนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งพระราชบัญญัตินี้
          (๓) กำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ชดเชยและเยียวยา หรือบรรเทาทุกข์แก่บุคคล ซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          (๔) ตรวจสอบ แนะนำ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและ หน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
          (๕) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          (๖) ส่งเสริมให้มีการเก็บข้อมูลจำแนกเพศ รวมทั้งเสนอรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
          (๗) วางระเบียบเกี่ยวกับการกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัย การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
          (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ สทพ. หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
          ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงการกำหนดมาตรการพิเศษดังต่อไปนี้ เพื่อส่งเสริม ให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศอย่างแท้จริง
          (๑) ส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
          (๒) ปรับปรุงแบบแผนความประพฤติทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเพศเพื่อขจัดอคติ วิธีปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของความเหลื่อมล้ำ และความรุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศเพื่อขจัดอุปสรรค ในการเข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ
          มาตรา ๑๑ การประชุมคณะกรรมการ สทพ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
          ในการประชุมคณะกรรมการ สทพ. ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
          การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
          มาตรา ๑๒ คณะกรรมการ สทพ. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือ ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการ สทพ. มอบหมายได้
          การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๒
คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
         มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ วลพ.” ประกอบด้วย ประธานกรรมการ คนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกจำนวนไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยการสรรหา จากผู้ซึ่งมิใช่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ สทพ. ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการคุ้มครอง ผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมหรือส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศจำนวนสามคน และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านนิติศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านจิตวิทยา และด้านแรงงาน อย่างน้อย ด้านละหนึ่งคน
          ให้อธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการในกรมเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
          หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่คณะกรรมการ สทพ. กำหนด
          มาตรา ๑๔ คณะกรรมการ วลพ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) วินิจฉัยปัญหาที่มีการยื่นคำร้องว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามมาตรา ๑๘
          (๒) กำหนดมาตรการชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัยเพื่อคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์ตามมาตรา ๑๙
          (๓) ออกคำสั่งตามมาตรา ๒๐
          (๔) ยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินตามมาตรา ๒๑
          (๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ วลพ.
          มาตรา ๑๕ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับกับคณะกรรมการ วลพ. โดยอนุโลม
          มาตรา ๑๖ ให้กรมรับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการ สทพ. และคณะกรรมการ วลพ. และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) รับคำร้องว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ พร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อ คณะกรรมการ สทพ. คณะกรรมการ วลพ. หรือคณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณี
          (๒) ดำเนินการให้มีการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมิให้เกิด การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          (๓) ประสานงานกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้ความคุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศ
          (๔) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ เสนอคณะกรรมการ สทพ. เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
          (๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำ หนด หรือตามที่รัฐมนตรี คณะกรรมการ สทพ. คณะกรรมการ วลพ. หรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย
หมวด ๓
การตรวจสอบการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
         มาตรา ๑๗ การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติ ของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ระหว่างเพศจะกระทำมิได้
          การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย หรือการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          มาตรา ๑๘ บุคคลใดเห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล หรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ วลพ. เพื่อพิจารณา วินิจฉัยว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศหรือไม่ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. ให้เป็นที่สุด ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำร้อง การพิจารณา และการวินิจฉัยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรี กำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ สทพ.
          การร้องขอตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาล ที่มีเขตอำนาจ โดยให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินให้แก่บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศได้ และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศนั้นเป็นการกระทำ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้
          การใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ อาจขอให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ยื่นคำร้องหรือฟ้องคดีแทนได้ การฟ้องคดีตามวรรคสอง ให้ฟ้องภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่คณะกรรมการ วลพ. มีคำวินิจฉัย หรือนับแต่วันที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี
          มาตรา ๑๙ ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ คณะกรรมการ วลพ. อาจกำหนดมาตรการชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัยเพื่อคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์แก่บุคคล ซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศเท่าที่จำเป็นและสมควรแก่กรณีก็ได้
          มาตรา ๒๐ ในกรณีที่คณะกรรมการ วลพ. วินิจฉัยว่า เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ระหว่างเพศ ให้มีอำนาจออกคำสั่ง ดังต่อไปนี้
          (๑) ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ด้วยวิธีใดที่เห็นเหมาะสม เพื่อระงับและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          (๒) ให้การชดเชยและเยียวยาผู้เสียหายตามความในหมวด ๔ คำสั่งของคณะกรรมการ วลพ. ตามวรรคหนึ่ง จะต้องแสดงเหตุผลอย่างชัดเจนและอาจกำหนด เงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็น รวมทั้งจะมีข้อสังเกตเสนอต่อคณะกรรมการ สทพ. เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
          มาตรา ๒๑ ในกรณีที่คณะกรรมการ วลพ. วินิจฉัยว่า มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ระหว่างเพศโดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้คณะกรรมการ วลพ. ยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อพิจารณายื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
          มาตรา ๒๒ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ วลพ. อนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งคณะกรรมการ วลพ. มอบหมาย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยมีหมายค้น
          (๒) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องมา เพื่อประกอบการพิจารณา
          ให้ผู้เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก ชี้แจงข้อเท็จจริง ตอบหนังสือสอบถาม หรือส่งสิ่งของ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่กรรมการ วลพ. อนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง
          มาตรา ๒๓ ให้กรรมการ วลพ. อนุกรรมการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
          ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง
          บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
หมวด ๔
การชดเชยและเยียวยาผู้เสียหาย
         มาตรา ๒๔ เมื่อคณะกรรมการ วลพ. มีคำวินิจฉัยว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ระหว่างเพศ ให้ผู้เสียหายมีสิทธิขอรับการชดเชยและเยียวยาโดยยื่นคำขอต่อกรมตามแบบที่อธิบดี ประกาศกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ.
          สิทธิขอรับการชดเชยและเยียวยาตามวรรคหนึ่ง เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอด ทางมรดก
          มาตรา ๒๕ ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถ หรือในกรณีที่ผู้เสียหายไม่สามารถยื่นคำขอรับการชดเชยและเยียวยาด้วยตนเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล สามีหรือภริยา ผู้ดูแลหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี จะยื่นคำขอแทน ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
          มาตรา ๒๖ การชดเชยและเยียวยาผู้เสียหายให้กระทำโดยให้ความช่วยเหลือประการหนึ่ง ประการใด หรือให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ดังต่อไปนี้
          (๑) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
          (๒) ค่าสูญเสียโอกาสที่เป็นค่าเสียหายในเชิงพาณิชย์ซึ่งสามารถคำนวณเป็นเงินได้
          (๓) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
          (๔) การชดเชยและเยียวยาในรูปแบบหรือลักษณะอื่น
          หลักเกณฑ์ วิธีการ และจำนวนเงินในการชดเชยและเยียวยาผู้เสียหายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป ตามระเบียบที่คณะกรรมการ สทพ. กำหนด
          มาตรา ๒๗ การได้รับการชดเชยและเยียวยาตามมาตรา ๒๖ ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้เสียหาย ในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๘ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๕
กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
          มาตรา ๒๘ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในกรม เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศ” เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศตามพระราชบัญญัตินี้
          มาตรา ๒๙ กองทุน ประกอบด้วย
          (๑) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
          (๒) เงินสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
          (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้กองทุน
          (๔) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
          (๕) ผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน
          (๖) รายได้อื่น
          เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
          มาตรา ๓๐ เงินในกองทุนนี้ให้ใช้จ่ายภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
          (๑) เพื่อกิจกรรมหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
          (๒) เพื่อคุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          (๓) เพื่อช่วยเหลือ ชดเชยและเยียวยา หรือบรรเทาทุกข์แก่บุคคลซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจาก การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามมาตรา ๒๖
          (๔) เพื่อการสอดส่องดูแลและให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ ของรัฐและหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
          (๕) เพื่อส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมิให้มี การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          (๖) เพื่อการติดต่อและประสานงานกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
          (๗) เพื่อการอื่นตามที่คณะกรรมการ สทพ. เห็นสมควร
          มาตรา ๓๑ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย อธิบดีเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการ สทพ. แต่งตั้ง จำนวนสี่คน ในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้แทนจากภาคเอกชน ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านการส่งเสริม ความเท่าเทียมระหว่างเพศ จำนวนสามคน และด้านการบริหารกองทุน จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้รองอธิบดีซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
          คณะกรรมการบริหารกองทุนจะแต่งตั้งข้าราชการในกรมจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ มาตรา ๓๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับกับคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม
          มาตรา ๓๓ คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) บริหารกองทุน การรับ การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับ การระดมทุน การลงทุน การจัดหาผลประโยชน์ และการจัดการกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ คณะกรรมการ สทพ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
          (๒) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินชดเชยและเยียวยาแก่ผู้เสียหายเนื่องจากการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามระเบียบที่คณะกรรมการ สทพ. กำหนด
          (๓) รายงานสถานะทางการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการ สทพ.
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
          มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ วลพ. ตามมาตรา ๒๐ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๖ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้เห็นว่าผู้ต้องหา ไม่ควรได้รับโทษจำคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง ให้มีอำนาจเปรียบเทียบ ดังต่อไปนี้
          (๑) อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
          (๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สำหรับความผิดที่เกิดขึ้น ในจังหวัดอื่น
          ในกรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตาม (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
          เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
      นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันไม่มีมาตรการป้องกันการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศที่ชัดเจนส่งผลให้บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศไม่ได้รับ ความคุ้มครองและไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร สมควรมีกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ซึ่งสอดคล้องกับ หลักการสิทธิมนุษยชนสากลตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้

ภาคผนวก 2 ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้ เงินและทรัพย์สิน ของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565

ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่ง เสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สิน
ของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕
         โดยที่กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่ กำหนดไว้ในมาตรา ๓๐ ดังนั้น เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขประกอบการพิจารณาอนุมัติ การใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศอย่างชัดเจน เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เกิดประโยชน์สูงสุดในภารกิจภาครัฐ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ขับเคลื่อนพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ อันจะส่งผลให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคม
          อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๖ ของระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ว่าด้วยการบริหารกองทุน การรับ การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน การระดมทุน การลงทุน การจัดหาผลประโยชน์ และการจัดการกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ จึงอกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
          ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุน ส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ”
          ข้อ ๒ ในประกาศนี้
          “เงินสนับสนุน” หมายความว่า เงินสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียม ระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘
          “ผู้ขอรับเงินสนับสนุน” หมายความว่า มูลนิธิ สมาคม ชมรม องค์กรสาธารณประโยชน์ หรือองค์กรสวัสดิการชุมชน หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ซึ่งมีผลงานหรือมีวัตถุประสงค์ ในการดำเนินกิจการหรือมีโครงการ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือเพื่อคุ้มครองและ ป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ หรือเพื่อส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงาน ของรัฐสภา ศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ ทุนหมุนเวียนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐไม่ต่ำกว่า ระดับกองหรือเทียบเท่า
          “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
          “คณะกรรมการบริหารกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศ
          “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศ
          “กรม” หมายความว่า กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
          “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
          ข้อ ๓ การยื่นขอรับการสนับสนุน ให้ผู้ขอรับเงินสนับสนุน ยื่นคำขอพร้อมโครงการตามแบบ ที่อธิบดีกำหนด
          ข้อ ๔ โครงการที่จะได้รับการพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินสนับสนุนตามประกาศนี้ ต้องมีลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
          (๑) เป็นโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
          (๒) เป็นโครงการเพื่อคุ้มครอง ป้องกัน หรือเป็นการแก้ไขปัญหา มิให้เกิดการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          (๓) เป็นโครงการจัดทำแผน การรวบรวมข้อมูล หรือการศึกษาวิจัยด้านการส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศ
          (๔) เป็นโครงการรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กิจกรรม หรือองค์ความรู้ด้านการส่งเสริม ความเท่าเทียมระหว่างเพศ
          (๕) โครงการอื่นด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตามที่คณะกรรมการบริหาร กองทุนเห็นสมควร
          ข้อ ๕ โครงการตามข้อ ๔ ที่ขอรับเงินสนับสนุนต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องหรือสนับสนุน นโยบายของรัฐบาล นโยบายและยุทธศาสตร์ของกรม หรือวัตถุประสงค์ของกองทุน
          ให้ผู้ขอรับเงินสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง ยื่นคำ ขอพร้อมโครงการที่ขอบเงินสนับสนุน โดยในกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อกรม ในจังหวัดให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับผู้ขอรับเงินสนับสนุน ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวนั้น หรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุนมีภูมิลำเนาที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพนั้น เพื่อพิจารณาเบื้องต้นพร้อมเสนอความเห็นก่อนส่งให้ คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณา
          การยื่นในจังหวัดตามวรรคสอง หากมีความจำเป็นหรือไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดได้ ให้ผู้ขอรับเงินสนับสนุนยื่นคำขอพร้อมโครงการที่ขอรับเงินสนับสนุนต่อกรม และแจ้งเหตุผลความจำเป็น หรือเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการยื่นตามวรรคสอง เป็นหนังสือมาด้วย
          ข้อ ๖ ผู้ขอรับเงินสนับสนุนตามข้อ ๕ จะยื่นคำขอด้วยตนเอง ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือยื่นผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กรมกำหนดก็ได้
          ข้อ ๗ โครงการที่เสนอขอรับเงินสนับสนุน จะต้องอยู่ในกรอบวงเงินค่าใช้จ่าย ดังนี้
          (๑) โครงการขนาดเล็ก หมายถึง โครงการที่ขอรับเงินสนับสนุนในวงเงินค่าใช้จ่ายไม่เกิน ห้าหมื่นบาท
          (๒) โครงการขนาดกลาง หมายถึง โครงการที่ขอรับเงินสนับสนุนในวงเงินค่าใช้จ่าย เกินห้าหมื่นบาทแต่ไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
          (๓) โครงการขนาดใหญ่ หมายถึง โครงการที่ขอรับเงินสนับสนุนในว งเงินค่าใช้จ่าย เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทแต่ไม่เกินสามแสนบาท รายละเอียดหลักเกณฑ์และค่าใช้จ่ายให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการกำ หนด โดยอนุโลม
          ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาอนุมัติเงินสนับสนุนโครงการตามที่มี การขอรับเงินสนับสนุนซึ่งจะต้องไม่เกินกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายตามข้อ ๗ เว้นแต่กรณีมีความจำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
          ข้อ ๙ (ยกเลิก)
          ข้อ ๑๐ เมื่อคณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาแล้วเห็นว่า การยื่นคำขอรับเงินสนับสนุน เป็นไปโดยถูกต้องและเป็นโครงการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดในข้อ ๔ อีกทั้งมีกรอบ วงเงินค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อ ๗ ประกอบกับมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงการ กิจกรรมหรือวงเงินที่ขอรับเงินสนับสนุน ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาอนุมัติโครงการกิจกรรมและกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายโครงการนั้น
          ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการที่ขอรับเงินสนับสนุน มิได้เป็นไปตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ให้แจ้งผู้ขอรับเงินสนับสนุนดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม ให้ถูกต้องและให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาอนุมัติโครงการกิจกรรมและกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายโครงการนั้นภายหลังที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงการ กิจกรรมและหรือกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายที่ขอรับการสนับสนุนแล้ว หรือคณะกรรมการบริหารกองทุนอาจพิจารณาไม่อนุมัติโครงการดังกล่าวเสียก็ได้ ตามที่เห็นสมควร
          ข้อ ๑๑ เมื่อคณะกรรมการบริหารกองทุนได้พิจารณาอนุมัติโครงการกิจกรรมและกรอบวงเงิน ค่าใช้จ่ายของโครงการแล้ว ให้เสนออธิบดีเพื่อสั่งจ่ายเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ขอรับเงินสนับสนุน โดยให้กลุ่มบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เป็นผู้เบิกจ่ายเงินสนับสนุนตามระเบียบของทางราชการ
          ข้อ ๑๒๑๐ ในการจ่ายเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ขอรับเงินสนับสนุน ให้ดำเนินการตามระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด โดยให้ทำสัญญารับเงินสนับสนุนตามแบบที่อธิบดีกำหนด และให้อธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอำนาจลงนามในสัญญารับเงินสนับสนุน
          ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับเงินสนับสนุนที่ได้รับการสนับสนุนจะต้องดำเนินโครงการให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติ และจะนำเงินสนับสนุนที่ได้รับไปใช้จ่ายนอกเหนือจากโครงการหรือกลุ่มเป้าหมายอื่นมิได้
          ข้อ ๑๔ เมื่อได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จและมีเงินที่ได้รับการสนับสนุนเหลืออยู่ ให้คืนเงิน สนับสนุนนั้นแก่กองทุน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอรับเงินสนับสนุน รายงานผลการดำเนินโครงการและรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนต่อกรม ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ และให้นำความในข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          ข้อ ๑๕ ในกรณีมีเหตุจำเป็นต้องขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ ให้ผู้ขอรับเงินสนับสนุน ทำหนังสือขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ ก่อนสิ้นสุดโครงการสามสิบวัน ประธานกรรมการ อาจพิจารณาและอนุมัติตามที่เห็นสมควรก็ได้ หรือกรณีมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวัน เวลา สถานที่ ดำเนินโครงการ ให้ผู้ขอรับเงินสนับสนุนทำหนังสือแจ้งขอเปลี่ยนแปลงต่อประธานกรรมการอนุมัติ ก่อนดำเนินโครงการ และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้แจ้งคณะกรรมการบริหารกองทุนทราบ ในวาระแรกที่มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน
          การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อกรม ในจังหวัดให้ยื่นต่อสำนักงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับผู้ขอรับเงินสนับสนุน ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวนั้น หรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุน มีภูมิลำเนาที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพนั้น และให้นำความในข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม๑๑
          การยื่นในจังหวัดตามวรรคสอง หากมีความจำเป็นหรือไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดได้ ให้ผู้ขอรับเงินสนับสนุนยื่นต่อกรม และแจ้งเหตุผลความจำเป็นหรือเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการยื่น ตามวรรคสอง เป็นหนังสือมาด้วย๑๒
          ข้อ ๑๖ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ขอรับเงินสนับสนุนมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามโครงการ ที่ได้รับเงินสนับสนุนตามประกาศนี้ ให้อธิบดีแจ้งผู้รับเงินสนับสนุนระงับการใช้จ่ายเงินจากกองทุนไว้ก่อน จนกว่าจะได้มีการแก้ไขให้เป็นไปตามประกาศนี้
          ข้อ ๑๗๑๓ กรณีการเลิกหรือถูกเพิกถอนการเป็นมูลนิธิ สมาคม ชมรม องค์กรสาธารณประโยชน์ หรือองค์กรสวัสดิการชุมชน หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนใด ให้คืนเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือ พร้อมดอกผลซึ่งเกิดจากการใช้จ่ายเงินสนับสนุน (ถ้ามี) ให้แก่กองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิก หรือถูกเพิกถอน
          ข้อ ๑๘ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกเงิน การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่ง หรือการปฏิบัติอื่นใด ที่มิได้กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการนั้นโดยอนุโลม
          ข้อ ๑๙ ให้อธิบดีเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้และเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่มีปัญหาหรือ ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ รวมทั้ง ให้มีอำนาจกำหนดแบบเอกสารและวิธีการ เพื่อปฏิบัติการตามประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เลิศปัญญา บูรณบัณฑิต
อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒๑๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติ การใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การขับเคลื่อนพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ประสบความสำเร็จ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย อันจะส่งผลให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคมได้

ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓๑๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติ การใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕๑๖

          ข้อ ๘ การใดอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุน ส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สิน ของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศคณะกรรมการ บริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงิน และทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้น ให้เป็นไปตามที่ประกาศนี้กำหนด เว้นแต่ กรณีที่ผู้ขอรับเงินสนับสนุน ยื่นคำขอรับเงินสนับสนุนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ถือว่ามีสิทธิได้รับการพิจารณานับแต่วันที่ยื่นคำ ขอรับเงินสนับสนุน

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติ การใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับเงินสนับสนุน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน และเกิดประโยชน์สูงสุด
วิชชุตา/ผู้จัดทำ
๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕

สุชาดา/ตรวจ
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕
———————————————————————————————————————————————————————————————-
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๕๕/๓๐ มกราคม ๒๕๖๑
ข้อ ๒ นิยามคำว่า “ผู้ขอรับเงินสนับสนุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริม ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริม ความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๒ นิยามคำว่า “หน่วยงานขอรัฐ” เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียม ระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๕ วรรคสอง แก้ไขโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕
ข้อ ๕ วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕
ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕
ข้อ ๙ ยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕
ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓
๑๐ ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ และ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไ ข การอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕
๑๑ ข้อ ๑๕ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕
๑๒ ข้อ ๑๕ วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๓ ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๙๗ ง/หน้า ๖/๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
๑๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๗/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
๑๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๙/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๔/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕