เมื่อเราสำรวจความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะใต้โพสต์หนุ่มหน้าตาดี ไม่ว่าจะเป็นคนดังหรือคนธรรมดา เรามักพบว่ามีความคิดเห็นที่ส่อถึงเรื่องเพศอย่างชัดเจนจากผู้หญิงบางกลุ่มถึงแม้ว่าเจ้าของโพสต์จะไม่ได้มีเจตนาแสดงถึงเรื่องเพศเลยก็ตามที่น่าสังเกตคือความคิดเห็นเหล่านี้มักถูกมองเป็นเรื่องตลกมากกว่าการล่วงละเมิดทางเพศ ในทางกลับกันหากผู้ชายแสดงความคิดเห็นในลักษณะเดียวกันสังคมจะ  ไม่มองว่าเป็นเรื่องตลกแต่กลับวิพากษ์วิจารณ์และประณามพฤติกรรมดังกล่าว[1]สิ่งนี้สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมในการมองปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศระหว่างผู้ชายและผู้หญิง         ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อผู้ชายออกมาเล่าประสบการณ์ของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ พวกเขาจะถูกมองข้ามหรือแม้แต่ล้อเลียนบางคนอาจถูกตั้งคำถามว่า ไม่ชอบผู้หญิงหรอ หรือ ทำไมไม่ตอบโต้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทำให้การเปิดเผยประสบการณ์เหล่านี้ยากขึ้นและส่งผลให้เหยื่อจำนวนมากเลือกที่จะเงียบแทนการเรียกร้องความยุติธรรม

          แม้ว่าผู้หญิงจะเป็นเหยื่อหลักของการล่วงละเมิดทางเพศแต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ชายที่ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยเราจะเจาะไปที่ภูมิภาค     เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          ประเทศไทย จากการศึกษาของสถาบันยุติธรรมไทย (TIJ) ร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายพบว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2555 มีเด็กหญิงร้อยละ 11– 22 และเด็กชายร้อยละ       3 – 16.5 ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศถึงแม้ว่าจำนวนเด็กหญิงที่ตกเป็นเหยื่อจะมากกว่าเด็กชายแต่เด็กชายก็ไม่ควรถูกละเลย[2]

          มาเลเซีย ตามสถิติของตำรวจรัฐบาลกลางคือ ในปี 2566 ตำรวจบันทึกคดีล่วงละเมิดและทำร้ายทางเพศรวม3,361 คดี โดยเหยื่อ 135 รายเป็นผู้ชายหรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของจำนวนทั้งหมด นอกจากนี้ข้อมูลจากกองสืบสวนคดีทางเพศ สตรี และเด็ก รวมไปถึงกรมสอบสวนคดีอาญา (D11) ระบุว่า แม้จำนวนเหยื่อที่เป็นผู้หญิงจะยังคงมากกว่าผู้ชายแต่จำนวนเหยื่อที่เป็นผู้ชายกลับเพิ่มขึ้น      อย่างต่อเนื่อง[3]

          อินโดนีเซีย จากข้อมูลของ IndonesiaJudicial Research Society (IJRS) ร่วมกับ International NGOForum on Indonesian Development (INFID) ในปี 2563 พบว่ามีผู้ชาย 33.3%        ที่ประสบกับความรุนแรงทางเพศและข้อมูลจากโครงการ Never Okay พบว่าผู้ชาย 1 ใน 4 คน ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศขณะทำงาน[4]

                การที่จำนวนเหยื่อที่เป็นผู้ชายเพิ่มมากขึ้นปัจจัยหนึ่งมาจากที่พวกเขาเห็นว่ามีคนเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้มาก่อนให้พวกเขากล้าที่จะบอกเล่าข้อมูลมากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่พวกเขาไม่กล้าที่จะบอกนั้น    มาจากค่านิยมหรือความคิดที่ถูกมองว่าไม่มีผู้ชายคนไหนเป็นเหยื่อหรอก

ด้วยความที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีค่านิยมและโครงสร้างทางสังคมที่ยึดโยงกับสังคมชายเป็นใหญ่ทำให้การที่ผู้ชายคนหนึ่งออกมาบอกเล่าความอ่อนแอของตัวเอง เป็นสิ่งที่ผิดกับระบบชายเป็นใหญ่ที่ถูกปลูกฝังกันมารวมไปถึงการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศและการขาดกฎหมายที่ครอบคลุม ทำให้การล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นกับผู้ชายถูกละเลยในระดับสังคมและกฎหมาย

          1) ระบบสังคมชายเป็นใหญ่  (Patriarchy)เป็นระบบที่ให้คุณค่ากับผู้ชาย ทำให้แนวคิดเรื่อง ผู้ชายต้องเข้มแข็ง” “ผู้ชายต้องเป็นผู้นำฝังรากลึกในสังคม ส่งผลให้เมื่อผู้ชายตกเป็นเหยื่อของ     การล่วงละเมิดทางเพศพวกเขามักเผชิญกับการดูถูก เยาะเย้ย หรือไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเหยื่อเนื่องจากสังคมคาดหวังว่าผู้ชายต้องเป็นฝ่ายควบคุมสถานการณ์มากกว่าถูกกระทำนอกจากนี้ สังคมมักเชื่อมโยงอำนาจทางเพศกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเมื่อเกิดเหตุการณ์การล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงมักจะได้รับความสนใจมากกว่าแต่เมื่อเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นกับผู้ชายจะถูกมองในเชิงตลกขบขันมากกว่าสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงอคติทางเพศที่ทำให้การช่วยเหลือเหยื่อที่เป็นผู้ชายยังถูกจำกัดอยู่

          2) การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศโดยหลายคนมักมีความเชื่อผิด ๆ ว่าถ้าผู้ชายที่เป็นเหยื่อมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้นทางเพศหมายความว่าพวกเขายินยอมที่จะถูกกระทำซึ่งทั้งหมดถือเป็นความเข้าใจผิดที่ส่งผลกระทบต่อการช่วยเหลือเหยื่อ[5]รวมไปถึงความคิดที่ว่าผู้ชายมีความต้องการทางเพศอยู่ตลอดเมื่อพวกเขาตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศพวกเขามักจะถูกมองว่าโชคดีอีกทั้งสังคมมักจะมองว่าการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นต่อผู้ชายเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรงเท่ากับที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงเนื่องจากความคิดที่มองว่า ผู้ชายปกป้องตัวเองได้ส่งผลให้ผู้ชายที่ตกเป็นเหยื่อไม่ได้รับ     การคุ้มครองที่ครอบคลุมจากทั้งสังคมและกฎหมาย

           3) การขาดกฎหมายที่ครอบคลุม หลายประเทศมีกฎหมายคุ้มครองผู้หญิงจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศที่ชัดเจน แต่ในส่วนของการคุ้มครองผู้ชายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศหลายประเทศ       เริ่มยอมรับและให้การช่วยเหลือแก่เหยื่อที่เป็นผู้ชายแต่ในบางประเทศกลับระบุว่าการล่วงละเมิดทางเพศเกิดแต่กับผู้หญิงเท่านั้น เช่นในกฎหมายของบรูไนระบุไว้ว่า การข่มขืนสามารถเกิดขึ้นได้กับ         ผู้หญิงเท่านั้นส่งผลให้เหยื่อที่เป็นผู้ชายไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายมากพอ[6] หรือในกฎหมายของมาเลเซียระบุไว้ว่า ผู้ชายเท่านั้นที่ถูกตั้งข้อหากระทำความผิดซึ่งหมายความว่าผู้หญิงไม่สามารถกระทำความผิดได้[7]

          ในประเด็นของกฎหมายยังคงเป็นประเด็นที่น่าจับตามองเนื่องจากยังไม่มีประเทศไหนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ออกกฎหมายครอบคลุมเหยื่อที่เป็นผู้ชายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างชัดเจนแต่ในบางประเทศเริ่มบัญญัติในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศว่า ไม่ว่าเพศไหนก็สามารถถูกล่วงละเมิดทางเพศได้นอกจากนี้เราสามารถศึกษากฎหมายหรือโครงการของประเทศอื่นเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ชายที่ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศได้เช่น ในสหรัฐอเมริกามีโครงการ 1in6 ที่ช่วยเหลือผู้ชายที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือแคนาดาที่มีการปรับปรุงกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศและความผิดทางเพศอื่นๆโดยยอมรับว่าผู้ชายไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถตกเป็นเหยื่อจากการล่วงละเมิดทางเพศได้[8]รวมไปถึงสร้างการปรับเปลี่ยนค่านิยม  ทางสังคม เช่น การรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นกับผู้ชายหรือระบบการศึกษาที่ควรถูกปรับให้ครอบคลุมทุกเพศ นอกจากนี้การสร้างพื้นที่ปลอดภัยก็เป็นสิ่งที่จำเป็น    อย่างมากเช่นกัน ควรมีการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เหยื่อที่เป็นผู้ชายออกมาเล่าประสบการณ์โดยไม่ถูกตีตราหรือควรมีองค์กรหรือบุคคลสาธารณะที่ออกมาเป็นกระบอกเสียงเพื่อสนับสนุนและให้การช่วยเหลือ

         

การล่วงละเมิดทางเพศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เลือกเวลาสถานที่ ช่วงวัย รวมไปถึงเพศ โดยผู้ชายก็สามารถตกเป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้เช่นกันแต่เหยื่อที่เป็นผู้ชายมักถูกละเลยจากสังคม        และกฎหมาย มาจากการที่แนวคิดชายเป็นใหญ่ยังคงถูกผลิตซ้ำและสร้างบาดแผลให้กับทุกเพศผู้ชายถูกมองว่าเป็นเพศที่เข้มแข็ง อดทน และต้องมีศักดิ์ศรีของความเป็นลูกผู้ชายการที่ผู้ชายถูกล่วงละเมิด  ทางเพศกลายเป็นเรื่องที่ผิดปกติและถูกตั้งคำถามมากกว่าจะถูกเห็นใจทำให้ผู้ชายที่ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศไม่กล้าที่จะออกมาให้ข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะกลัวที่จะถูกตัดสินและ    รู้สึอับอายโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีค่านิยมชายเป็นใหญ่ที่ค่อนข้างเข้มข้นดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้ต้องเริ่มจากการยอมรับว่าเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศมีทุกเพศและทุกวัยพร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้ในสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขอขอบคุณแหล่งที่มา