ตั้งแต่อดีตชาวอุษาคเนย์มีความเชื่อและศรัทธาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำและป่าไม้ ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีการมองเพศหญิงเป็นตัวแทนของการให้กำเนิดและความอุดมสมบูรณ์
เพศหญิงคือตัวกลางสื่อสารกับสิ่งเหนือธรรมชาติ แต่เมื่อยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนไปค่านิยมความเชื่อดังกล่าวก็ถูกลดความสำคัญลง ตามการเข้ามาของวัฒนธรรมอื่นรวมไปถึงสังคมอินโดนีเซียที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยอินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่เป็นแผ่นดินประมาณ
2,027,087ตารางกิโลเมตร พื้นที่ทะเลประมาณ 3,166,163 ตารางกิโลเมตร[1] แต่ละเกาะเต็มไปด้วยกลุ่มคนที่มีความหลากหลายความเชื่อ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมที่น่าสนใจคือ มินังกาเบา

    มินังกาเบาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรประมาณ 8 ล้านคนนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีศูนย์กลาง ที่เมืองปาดัง มินังกาเบาแปลว่า ควายแห่งชัยชนะ โดย มินังแปลว่า ชัยชนะ และ กาเบา แปลว่า ควายมาจากตำนานที่ชาวมินังกาเบาสามารถเอาชนะชาวชวาได้ จากการชนควายเดิมพันแทนการรบควายจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวมินังกาเบาเห็นได้จากหลังคาบ้านแบบจารีตและชุดพื้นเมืองที่มีลักษณะคล้ายเขาควาย[2]

     ชาวมินังกาเบาให้ความสำคัญกับการสืบเชื้อสายทางมารดา(Matriarchy)หรือ อาดัต มินังกาเบา (Adat Minangkabau) คือเมื่อมีทายาทเกิดมาทายาทที่เกิดมาจะกลายเป็นสมาชิกของตระกูลมารดาทรัพย์สมบัติจะตกทอดจากมารดาสู่บุตรสาวเมื่อแต่งงานฝ่ายชายจะต้องย้ายเข้ามาอยู่กับครอบครัวของฝ่ายหญิงและถึงแม้จะแต่งงานแล้วฝ่ายชายก็ยังผูกติดกับครอบครัวเดิมของตนเองคือสามีจะไปหาภรรยาได้เฉพาะในตอนกลางคืนและต้องทำงานให้ครอบครัวเดิมของตนเองในตอนกลางวันชาวมินังกาเบาไม่นิยมแต่งงานกับคนนอกเผ่าหรือนอกศาสนาแม้ไม่ได้มีกฎชัดเจนแต่หากเลือกแต่งงานกับคนภายนอกจะถูกออกจากหมู่บ้านตัดขาดจากครอบครัวและไม่ได้เป็นชาวมินังกาเบาอีกต่อไปสำหรับผู้ชายที่ไม่มีบทบาทในครอบครัวหนทางในการผ่อนคลายความตึงเครียดจากการที่ที่ดินถูกปกครองโดยผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่คือ การย้ายออกไปหาโอกาสใหม่ข้างนอก เรียกว่า ประเพณีมรันเตา (Merantau) ซึ่งหากผู้ชายประสบความสำเร็จในโอกาสใหม่นี้สามารถที่จะเชิญชวนครอบครัวย้ายมาอยู่ด้วยกันไดhโดยปกติ บ้านจะเป็นมรดกของบุตรสาวเพราะบุตรชายเมื่ออายุครบ 13 ปีจะต้องออกจากบ้านไปอยู่สุเหร่า ทำให้บ้านแบบจารีต หรือรูมาห์ กาดังของชาวมินังกาเบาจะไม่มีห้องนอนของบุตรชายพื้นที่ของบุตรชายจึงเป็นการอุทิศตนให้กับอัลลอฮ์อำนาจในการตัดสินใจจะถูกยกเป็นเรื่องของผู้หญิง ผู้หญิงจะได้สิทธิ์ในการสรุปว่าผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ชาวมินังกาเบาเชื่อว่า “ความเป็นอยู่ของคนคล้ายชีวิตของไก่เพราะลูกเจี๊ยบจะเดินตามแม่ไก่ไม่ใช่พ่อไก่ เช่นเดียวกับความเชื่อว่าสวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าแม่ ไม่ใช่พ่อ”[3] 

      สำหรับการเข้ามาของศาสนาอิสลามไม่ได้ส่งผลมากนักต่อระบบสังคมแบบมาตาธิปไตยที่ชาวมินังกาเบาปฏิบัติสืบต่อกันมาชาวมินังกาเบานับถือศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับ          ชาวอินโดนีเซียทั่วไปเว้นแต่มีการผสมผสานระบบสังคมแบบมาตาธิปไตยร่วมกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามด้วยชาวมินังกาเบาให้ความสำคัญกับการสืบเชื้อสายทางแม่เมื่อเด็กหญิงเกิดมาในครอบครัว ชาว มินังกาเบา เธอจะเริ่มมีบทบาทผู้นำเมื่ออายุ 7ปี และได้ดูแลเรื่องงานบ้านและการเลี้ยงดูน้อง ๆและเมื่อเธอถึงวัยผู้ใหญ่และพร้อมที่จะแต่งงาน เธอจะได้ดูแลเรื่องทรัพย์สินของครอบครัว[4]

     จะเห็นได้ว่าบทบาททางเพศของชาวมินังกาเบามีลักษณะที่แตกต่าง คือ การยึดถือระบบมาตาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับผู้หญิงทั้งการจัดการงานในครอบครัวและการจัดการทรัพย์สินแต่           ก็ยังมีอิทธิพลจากศาสนาอิสลามที่ช่วยเสริมบทบาทให้ผู้ชายในเชิงศาสนาและชุมชนแม้ว่าจะดูมีความเท่าเทียมในบางมิติ แต่ยังมีข้อจำกัดในพื้นที่สาธารณะ โดยบทบาทผู้หญิงยังถูกกำหนดให้อยู่ในกรอบ  ของความเป็นแม่และผู้ดูแลครอบครัวดังนั้นการสร้างความสมดุลระหว่างจารีตประเพณี ศาสนาและการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก นับว่าเป็นประเด็นท้าทายและน่าติดตามในเรื่องของบทบาททางเพศของชาวมินังกาเบา

แต่ถึงอย่างนั้น วัฒนธรรมหญิงเป็นใหญ่ในมินังกาเบาเริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลาจากคลิปวิดีโอ เสียงผู้หญิงแห่งมินังกาเบา ของ Thai PBS แสดงให้เห็นว่า พวกเธอไม่ได้รู้สึกมีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายชายไม่ว่าอย่างไรผู้ชายยังคงเป็นเสาหลักของครอบครัวที่ต้องคอยให้การสนับสนุนแต่อย่างน้อยพวกเธอก็รู้สึกดีใจที่บรรพบุรุษได้ฝากฝังจารีตประเพณีนี้ไว้เพื่อให้ผู้สืบทอดมรดกทางฝ่ายหญิงได้มีทรัพย์สมบัติติดตัวได้รับความเคารพและให้เกียรติในศักดิ์ศรีความเป็นเพศแม่ ผู้ให้กำเนิดทายาทของเผ่าพันธุ์[5]